ให้นักเรียนทำรายงานเรื่อง "การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557" ทำลงในบล็อกของนักเรียนเอง และให้นักเรียนส่งรายงาน ให้ตรงห้องเรียนของนักเรียนด้วยภายใน 30 มิถุนายน 2557 วิชาการปกครองของไทย ระดับชั้น ม.4: บทเรียนที่ 1 คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการปกครอง

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

บทเรียนที่ 1 คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการปกครอง

ทำแบบทดสอบ คลิกที่นี่


อ่านเพิ่มเติม

                          บทที่ 1 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการปกครอง
       
     การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ
     การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น
     รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน

    
ความหมายของการเมือง
“การเมือง” (politic) มาจากคำภาษากรีก “polis” แปลว่า “รัฐ” หรือ“ชุมชนทางการเมือง”
มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลายต่างกันขึ้นอยู่กับทัศนะ
และความเข้าใจของนักวิชาการแต่ละคน

เพลโต (Plato) นักปราชญ์กรีกให้ความหมายของการเมืองว่า “เป็นกิจกรรมที่แสวงหาความยุติธรรม และเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม”
อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า “การเมือง” หมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์”

ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ว่า “การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจ
หน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม


หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมที่เรียกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ
  1. เกี่ยวข้องกับมหาชน มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก
  2. เกี่ยวข้องกับรัฐ
  3. เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
     ความหมายของรัฐ ชาติ ประเทศ     
          “รัฐ” หมาย ถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
          “ชาติ” หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า “ชาติไทย”
          “ประเทศ” ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า “ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ
แม่น้ำ
ภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐ

   จะเป็นรัฐได้ต้องมีองค์ประกอบ  4  ประการ ได้แก่
        1.ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ





1)จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่


แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้






2)ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม 3)คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ         
     2.ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ

ทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล
1)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้อง 2)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะ ต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย          
     3.รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบ
ทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ

     4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตย
มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใด ๆ ในประเทศ
อย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับ
ประเทศอื่น ๆหรือกล่าวกันอีกอย่างหนี่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง


             องค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่ง แม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง

รูปแบบของรัฐ (Forms of State)


1.  รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว      
     รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง  3  อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ 
     รัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอด   รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับ
     ต่างประเทศด้วย   ตัวอย่างรัฐเดี่ยว  ได้แก่  อังกฤษ  ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น 
2.  รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป 
     โดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกัน      
     อาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น 
รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1)สหพันธรัฐ (Federal State) สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับเดียวกันร่วมกัน
และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ๆ รูปแบบการปกครอ
งแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ
และรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
2)สมาพันธรัฐ (Confederation State) สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน
ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการ ชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของ
รัฐแบบ
สมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้ว แต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น


ระบอบการเมือง การปกครองที่สำคัญ

ระบอบประชาธิปไตย

เป็นระบอบการปกครองที่มีหลักการ และความมุ่งหมายที่ผูกพันอยู่กับประชาชน
โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
กับแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบบแรกคือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่นและไทย
แบบที่ 2 คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอินเดีย ฝรั่งเศส และอเมริกา

หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย มีดังต่อไปนี้คือ


    1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรือเรียกว่าอำนาจของรัฐ (State Power) เป็นอำนาจหน้าที่มาจากประชาชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 2.ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ทุก 4 ปี จะมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ 3.รัฐบาล จะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในทรัพย์สินและการแสดงความคิดเห็น การรวมกลุ่ม เป็นต้น โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นของชาติหรือเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นธรรมแก่สังคมเท่านั้ 4.ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน ในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน 5.รัฐบาล ถือกฎหมาย และความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชน
ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการคือ ระบอบการปกครองที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิบางประการ โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง
อำนาจการปกครองจะตกอยู่ในกำมือของคนเพียงคนเดียว หรือกลุ่มเดียว

หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้


    1)ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
    2)การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
    3)ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
    4)รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและ รัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครอง เหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ

        เผด็จการทหาร 
เป็น การปกครองที่กองทัพเข้ามายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาประเทศที่เป็นภัยต่อความมั่นคงในบางเรื่องบางประการ โดยเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลปกครองในระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ และใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีการร่างเตรียมเอาไว้ก่อนแล้ว หลังจากแก้ไขปัญหาประเทศเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลตามแนวทางระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างประเทศไทยของเราที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ครั้ง เช่นคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.)ที่ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหวัน ใน พ.ศ.2534 หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ใน พ.ศ.2549

        เผด็จการฟาสซิสต์ เป็นรูปแบบเผด็จการแบบถาวร เผด็จ การฟาสซิสต์กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลี ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ก่อตั้งระบบฟาสซิสคือมุสโสลินี ส่วนฮิตเลอร์ก็ใช้ระบบนี้ในประเทศเยอรมันเช่นเดียวกัน

        เผด็จการคอมมิวนิสต์ ระบบ การปกครองคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศรัสเซีย โดยประธานาธิบดีเลนิน ต่อมาขยายไปยังประเทศจีน ประเทศในยุโรปตะวันออก ประเทศอินโดจีนได้แก่ กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นต้น แต่สมัยปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลง
มาเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น คงมีที่ยึดระบบคอมมิวนิสต์อย่างเหนียวแน่นตลอดมาคือประเทศจีนนั่นเอง

                                 คลิกทำแบบทดสอบเก็บคะแนนชุดที่ 1




ข้อมูลจาก http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/soc4/so31-4-1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น