ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2557
* เนื้อหาที่ใช้สอนในชั้นเรียนเรื่องรัฐสภา
*คลิกทำแบบทดสอบเก็บคะแนนเรื่องรัฐสภาไทยได้ที่นี่
*แหล่งเรียนรู้เรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
*คลิกทำแบบทดสอบเก็บคะแนนเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยได้ที่นี่
คลิกศึกษาเรื่องรัฐสภาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
*ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดาวน์โหลด Ebook เรื่องการบัญญัติกฎหมายได้ที่นี่
คลิปการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภา
คลิปเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
คลิปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งงแรก
|
การกระทำผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ความผิดเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
|
|
การให้
หรือสัญญาว่าจะให้ เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการเลี้ยง
หรือรับจะจัดเลี้ยง หรือหลอกลวง หรือใช้อิทธิพลคุกคาม หรือใส่ร้าย
เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง หรือไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี |
|
การจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปหรือกลับจากที่เลือกตั้ง เพื่อการเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
การให้คนที่ไม่มีสัญชาติไทยช่วยเหลือในการหาเสียง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท |
|
การหาเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
ห้าม
ปิดประกาศ
หรือติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด
รวมทั้งติดในสถานที่ของเอกชน
และห้ามหาเสียงโดยการติดแผ่นป้ายแนะนำตัวผู้สมัครเกินขนาดและมีจำนวนไม่เป็น
ไปตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
หรือการหาเสียงตามสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์นอกเหนือจาก
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
การเรียก หรือรับทรัพย์สินในการลงสมัครหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี หรือปรับ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี |
|
เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และถูกปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี |
|
ความผิดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส.
|
|
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคใช้จ่ายในการเลือกตั้งเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือ ปรับเป็น 3 เท่าของจำนวนเงินเกินกำหนด หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
ผู้
สมัครรับเลือกตั้ง
หรือหัวหน้าพรรคไม่ยื่นบัญชีการใช้จ่ายในการเลือกตั้งภายใน 90
วันหลังจากวันเลือกตั้ง หรือยื่นหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้งเป็นเท็จ เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี และปรับ 20,000 - 100,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ เป็นความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี และห้ามเป็นสมุห์บัญชีเลือกตั้ง 5 ปี |
|
ความผิดเกี่ยวกับผู้สมัครและการสมัครรับเลือกตั้ง
|
|
การ
ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต หรือแบบบัญชีรายชื่อ
โดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่สิทธิลงสมัคร
หรือการลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค
หรือลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชี
รายชื่อ หรือลงสมัครรับเลือกตั้งเกินกว่า 1 เขตเลือกตั้ง
หรือการสมัครลงรับเลือกตั้งมากกว่า 1 เขตเลือกตั้ง เป็นความผิด มีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี |
|
ความผิดเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ
|
|
การย้ายชื่อบุคคลอื่นเข้ามาในทะเบียนบ้านเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
ความผิดเกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้ง
|
|
การลงคะแนนเลือกตั้งโดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง โดยใช้เอกสารแสดงตน อันเป็นเท็จ เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ( |
|
การขัดขวาง ไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ หน่วยเลือกตั้ง หรือลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
การ
ถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งไว้แล้ว
หรือการแสดงบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งไว้แล้วให้ผู้อื่นทราบถึง
การลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
ผู้
มีสิทธิเลือกตั้งเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
เพื่อลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองใด เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
ความผิดเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง
|
|
การ
นำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง
หรือการทำเครื่องหมายเป็นที่สังเกตไว้ในบัตรเลือกตั้ง
หรือการนำบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
หรือการทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิดไปจากความเป็นจริง
หรือกระทำการให้บัตรเลือกตั้งเพิ่มขึ้นไปจากความเป็นจริง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
การ
ใช้บัตรอื่นที่มิใช่บัตรเลือกตั้งที่กฎหมายกำหนดหรือการใช้บัตรเลือกตั้งที่
มิใช่บัตรเลือกตั้งที่ตนได้รับมา จากการแสดงตน เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี |
|
ความผิดเกี่ยวกับการร้องเท็จและเป็นพยานเท็จ
|
|
กระทำการอันเป็นเท็จให้ผู้อื่นเข้าใจว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
กระทำ
การอันเป็นเท็จเพื่อกลั่นแกล้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เพื่อให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
หรือไม่ให้มีการประกาศผลเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 5 -10 ปี และปรับ 100,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี |
|
การกล่าวหาผู้สมัครรับเลือกตั้งว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันเป็นเท็จ เป็นความผิดมีโทษจำคุก 7 - 10 ปี และปรับ 140,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี |
|
ความผิดเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.
|
|
การ
ขัดขวางคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มอบอำนาจไม่ให้เข้าไปในที่อยู่อาศัย
สถานที่ หรือยานพาหนะ เพื่อตรวจ ค้น ยึด หรืออายัดทั้งเอกสารทรัพย์สิน
หรือพยานหลักฐานอื่นๆ
เมื่อมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
การขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ |
|
การเล่น หรือจัดให้เล่นพนันขันต่อเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือถูกปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี |
|
การ
เปิดเผย
หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการลงคะแนนการเลือกตั้งใน
ระหว่าง 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนการเลือกตั้ง เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือถูกปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
การกระทำความผิด เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้น ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร | |
ผู้สมัครรับ เลือกตั้ง หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ต้องรับผิดและชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเลือกตั้งใหม่ |
การเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ |
กรณีชื่อตนเองหายไปหรือมีชื่อบุคคลอื่นเกินมาในบัญชีรายชื่อ ให้แจ้ง เพิ่มชื่อ-ถอนชื่อต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันเลือก ตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน |
เกร็ดเลือกตั้ง ส.ส.
ใครเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง กกต.มี 5 คน กกต.จว. ในแต่ละจังหวัดอีก จังหวัดละ 5 คน เป็นผู้ช่วยเหลือ
- แต่พนักงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งส่วนกลางและจังหวัด มีประมาณ 2,200 คน รวมทั้งมี กกต.เขต ทุกเขตเลือกตั้งๆละ 5 คน เป็นผู้รับผิดชอบจัดการเลือกตั้งตามกฎหมาย /อนุกรรมการระดับอำเภอ/กรรมการประจำหน่วย (กปน.)ฯลฯ อีกประมาณ 1,200,000 คน ช่วยเหลือในการจัดการเลือกตั้ง
- หน่วยเลือกตั้ง ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยละ 800 คน จำนวนประมาณ 94,000 หน่วย
ในแต่ละหน่วยเลือกตั้งจะมีผู้อำนวยการประจำหน่วย 1 คนและ กปน. จำนวน 9 คน มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีก 2 คน รวมทั้งมีอาสาสมัครของ องค์กรเอกชน (ออช.) และตัวแทนพรรคการเมืองไม่เกินพรรคละ 1 คน เป็นสักขีพยาน
นอกจากนี้ ยังต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสนับสนุนการเลือกตั้ง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด และการขอความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และภาคประชาชน
การนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.
เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนในเวลา 15.00 น. แล้ว จะนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง โดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียวแล้ว กปน. จะประกาศผลการนับคะแนน ส.ส. ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปิดประกาศไว้บริเวณที่เลือกตั้ง จากนั้นจะนำหีบบัตรพร้อมอุปกรณ์และเอกสารสำคัญส่งอำเภอ เพื่อรายงานผลให้ กกต.เขต
หลังจากนั้น กกต.เขต จะรวบรวมผลการนับคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้ง และประกาศผลรวมคะแนนของเขตเลือกตั้งและปิดประกาศไว้ในสถานที่ ที่กำหนด พร้อมรายงานต่อ กกต.ประจำจังหวัด และรายงานต่อ กกต. เพื่อพิจารณาประกาศผลการเลือกตั้งต่อไป
เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนในเวลา 15.00 น. แล้ว จะนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง โดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียวแล้ว กปน. จะประกาศผลการนับคะแนน ส.ส. ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปิดประกาศไว้บริเวณที่เลือกตั้ง จากนั้นจะนำหีบบัตรพร้อมอุปกรณ์และเอกสารสำคัญส่งอำเภอ เพื่อรายงานผลให้ กกต.เขต
หลังจากนั้น กกต.เขต จะรวบรวมผลการนับคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้ง และประกาศผลรวมคะแนนของเขตเลือกตั้งและปิดประกาศไว้ในสถานที่ ที่กำหนด พร้อมรายงานต่อ กกต.ประจำจังหวัด และรายงานต่อ กกต. เพื่อพิจารณาประกาศผลการเลือกตั้งต่อไป
ข้อห้ามกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
- ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมการซื้อเสียง
- ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง
- ห้ามหาเสียงและห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อน วันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
- ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
- ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนียวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
- ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
- ห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง หรือทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
- ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด
- ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
- ห้ามเผย แพร่หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผล การเลือกตั้ง(โพลล์) ในระหว่าง 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง (เวลา 15.00 น.)
การคัดค้านการเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งยื่นคัดค้านต่อ กกต. โดย
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งยื่นคัดค้านต่อ กกต. โดย
- ก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผล การเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเกินจำนวนที่ กกต. กำหนด หรือผู้สมัครไม่ยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายภายใน 90 วัน หลังเลือกตั้ง
ใบเหลือง ใบแดง คืออะไร?
เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงขอเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล เมื่อกรรมการให้ “ใบเหลือง”นักฟุตบอล แปลว่านักฟุตบอลคนนั้นเล่นผิดกติกา แต่ยังไม่ถึงกับไล่ออกจากสนาม ยังให้เล่นต่อไปได้
ถ้าให้ “ใบแดง” แปลว่า นักฟุตบอลคนนั้นทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง ต้องไล่ออก จากสนาม กฎหมายเลือกตั้งทุกประเภทก็กำหนดกติกาการเลือกตั้งไว้คล้ายๆ กับกติกากีฬาฟุตบอล ดังนี้
เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงขอเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล เมื่อกรรมการให้ “ใบเหลือง”นักฟุตบอล แปลว่านักฟุตบอลคนนั้นเล่นผิดกติกา แต่ยังไม่ถึงกับไล่ออกจากสนาม ยังให้เล่นต่อไปได้
ถ้าให้ “ใบแดง” แปลว่า นักฟุตบอลคนนั้นทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง ต้องไล่ออก จากสนาม กฎหมายเลือกตั้งทุกประเภทก็กำหนดกติกาการเลือกตั้งไว้คล้ายๆ กับกติกากีฬาฟุตบอล ดังนี้
- การให้ใบเหลือง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด หมายความว่า กกต. เห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น การซื้อสิทธิ-ขายเสียง การแจกเงิน สิ่งของ เป็นต้น แต่เป็นการทุจริตที่แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครได้เป็นคน กระทำด้วยตนเอง แต่ก็เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตนั้น กกต. จึงลงโทษด้วยการสั่งให้เลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครที่ได้ใบเหลืองยังคงเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไปได้
- การให้ใบแดง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หมายความว่า กกต. เห็นว่ามีหลักฐาน อันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีการให้ใบ เหลือง แต่ต่างกันตรงที่ว่าผู้สมัครเป็นผู้กระทำหรือมีส่วนรู้เห็นการทุจริตนั้น จึงมีผลต้องถูก เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี และหากผู้นั้นได้รับคะแนนเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่ จะได้รับการเลือกตั้ง ก็จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทน โดยผู้ถูกเพิกถอนสิทธินั้น จะไม่มีสิทธิลงสมัคร ทั้งยังถูกดำเนินคดีอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้งใหม่ด้วย
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเหตุทุจริต
เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินสิ่งของ หรือการเรียกรับเงิน หรือทรัพย์สิน ให้ช่วยกันแจ้งเบาะแสหรือรวบรวมหลักฐานการทุจริตแจ้งต่อตำรวจ ในพื้นที่หรือแจ้งให้ กกต. ได้รับทราบในหลายช่องทาง เช่น
เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินสิ่งของ หรือการเรียกรับเงิน หรือทรัพย์สิน ให้ช่วยกันแจ้งเบาะแสหรือรวบรวมหลักฐานการทุจริตแจ้งต่อตำรวจ ในพื้นที่หรือแจ้งให้ กกต. ได้รับทราบในหลายช่องทาง เช่น
- สายด่วนเลือกตั้ง โทร. 1171
- ศูนย์ปฏิบัติการข่าว ฯ ในความรับผิดชอบศูนย์อำนวยการสืบสวนสอบสวน การเลือกตั้ง ส.ส. (ศอส.) โทร. 0-2141-8049-51
- สำนักงานคณะกรรมการการการเลือกตั้ง อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทร.0-2141-8888
- หรือที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัด
พันธะสัญญาของพรรคการเมืองว่าด้วยความร่วมมือในการเลือกตั้ง ส.ส. 2554
(หัวหน้าพรรคการเมือง ได้ร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 )
(หัวหน้าพรรคการเมือง ได้ร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 )
ข้อ 1. มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงใน การเลือกตั้ง
ข้อ 2. จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ อันเกี่ยวกับ การเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด
ข้อ 3. จะไม่ใช้กลไกของรัฐ หรือทรัพยากรของรัฐ มาเป็นประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 4. จะหาเสียงเลือกตั้งโดยสันติวิธี ไม่ข่มขู่ คุกคาม คู่แข่งขันด้วยวิธีการใดๆ และไม่ใช้วิธีการรุนแรงในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 5. จะยอมรับผลการเลือกตั้งตามที่ประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งอย่างจริงใจ
ข้อ 2. จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ อันเกี่ยวกับ การเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด
ข้อ 3. จะไม่ใช้กลไกของรัฐ หรือทรัพยากรของรัฐ มาเป็นประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 4. จะหาเสียงเลือกตั้งโดยสันติวิธี ไม่ข่มขู่ คุกคาม คู่แข่งขันด้วยวิธีการใดๆ และไม่ใช้วิธีการรุนแรงในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 5. จะยอมรับผลการเลือกตั้งตามที่ประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งอย่างจริงใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น