ให้นักเรียนทำรายงานเรื่อง "การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557" ทำลงในบล็อกของนักเรียนเอง และให้นักเรียนส่งรายงาน ให้ตรงห้องเรียนของนักเรียนด้วยภายใน 30 มิถุนายน 2557 วิชาการปกครองของไทย ระดับชั้น ม.4: เมษายน 2012

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ทักทายกัน วันเปิดภาคเรียน

  สวัสดีนักเรียน ม.4 ทั้งที่เข้ามาใหม่และศิษย์เก่า ทุกคน การเรียนวิชาการปกครองของไทย นี้ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
   การเรียนในห้องเรียนปกติ

    -นักเรียนเข้าห้องเรียนตามปกติ และมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80 %
    -ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในคาบเรียนแต่ละคาบ ให้สำเร็จ
    -บันทึกเนื้อหาสาระวิชา ที่ได้เรียนรู้ลงสมุดบันทึก

   การเรียนนอกห้องเรียน

    -ศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต
    -เข้าศึกษาและทำแบบทดสอบตามที่กำหนดไว้ในบล็อควิชาการปกครองของไทย
    -เข้าทำแบบทดสอบออนไลน์ให้ครบจำนวนชุดข้อสอบที่กำหนด
    -ศึกษาวิธีการสร้างบล็อค และให้สร้างบล็อคส่วนตัว คนละ 1 บล็อค สำหรับการส่งรายงานต่าง ๆ
    -ศึกษาวิธีการในการจัดทำภาพยนต์สั้น ผลิตภาพยนต์สาระคดีสั้น ๆ เกี่ยวกับการปกครองของไทย 
     กลุ่มละ 1 เรื่อง
    -ให้นักเรียน ม.4/6-4/14  ทุกคนสมัครเข้าร่วมเว็บไซต์นี้
 



วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

แนะนำเทคนิคการสร้างบล็อค

   คารวะพี่ท่านน้องท่านชาวครูทั้งเพิ้นทั้งเพ อยู่ ๆเทคโนโลยีมันมาชุมนุมกันถึง รูหมูกแล้ว ลุยเสียแหม็ด จังหูฉาด เราก็ใจเย็นกันจังหูนิ  นอนแลนั่งแลเฉย พลันรำพึง "โบ้สูมา ก็มาต๊ะ แต่อย่ามายุ่งกับตู" เห้อหนุกคาด
   เอาล่ะ...มาเข้าเรื่องกันเสียทีนะครับ  คือหากท่านใด สนใจจะมีบล็อคเป็นของตนเอง หรือเป็นบล็อครายวิชาที่ท่านสอนอยู่ล่ะก็ จะขอแนะนำเอาไว้คร่าว ๆ นะครับ
   ก่อนจะสมัคร blogger เราต้องสมัครอีเมล์ของ www.gmail.com เสียก่อน
   -วิธีการสมัคร gmail คลิกที่นี่
   -คลิกเข้า http://www.blogger.com
   -ทำตามคู่มือนี้ครับคลิก http://www.makemoney-school.com/how_blogger_signup.html
   -คู่มือแบบละเอียดคลิกดาวน์โหลด E-book นี้ไปศึกษาเลยครับ http://www.mediafire.com/?914xcmfhf17tq17
   -ใส่ code ปฏิทิน ที่นี่คลิก http://mycalendar.org/widget/ แล้วคัดลอก code ไปใส่ในบล็อคของเรา
   -ใส่ code นาฬิกา คลิกที่นี่่ http://www.clocklink.com/
   -ใส่ codenสถิติผู้เข้าชมบล็อคของเรา คลิกที่นี่ http://www.reliablecounter.com/
   -ใส่ chat  หรือห้องสนทนาในหน้าบล็อคของเรา คลิกที่นี่ http://settings.messenger.live.com/applications/websettings.aspx   ดูคู่มือที่นี่ http://club.myfri3nd.com/howto/webboard/6674/24661
   -คลิปปรับแต่งบล็อกด้านล่างครับ

  
-ใส่ code พยากรณ์อากาศ คัดลอก code ด้านล่าง นี้ไปใส่ในบล็อคได้เลยครับ
<iframe src="http://www.tmd.go.th/daily_forecast_forweb.php" width="180" height="260" scrolling="no" frameborder=0></iframe>

   -code ราคาทองเอา code ด้านล่างไปใส่ในบล็อคได้เลยครับ
<iframe src="http://namchiang.com/ncgp2-1.swf" width="172" height="165" frameborder="0" marginheight=0 marginwidth=0 scrolling="no"></iframe>

  - code อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เอา code ด้านล่างนี้ไปใช้ได้เลย
<iframe frameborder=0 scrolling=no width="193" height="135" src="http://www.bangkokbank.com/fxbanner/banner3.htm"></iframe>

  - code ราคาน้ำมัน คัดลอก code ไปใช้ได้เลยครับ
<iframe marginwidth=0 marginheight=0 src="http://www.pttplc.com/th/GetOilPrice.aspx" frameborder=0 width=173 scrolling=no height=305></iframe>las

  -code flash   หยดน้ำเล็ก ๆ  เอาไปใช้ได้เลย
 <embed style="position: absolute; width: 820px; height: 370px; top: 0px; left: 0px" height="370" type="application/octet-stream" width="1" src="http://wmp334.com.ne.kr/swf/dolppi_drop.swf" scale="ShowAll" loop="loop" menu="menu" wmode="transparent" quality="high"></embed>

  -code flash ดอกหญ้า เอาไปใช้ได้เลย
<embed style="position: absolute; width: 970px; height: 600px; top: 0px; left: 0px" width="1" src="http://imgfree.21cn.com/free/flash/140.swf" scale="ShowAll" loop="loop" menu="menu" wmode="transparent" quality="high" type="application/octet-stream"></embed>

-การสร้างเอกสารและแชร์เอกสาร ด้วย Docs ของ Facebook  เป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับครูผู้สอนและนักเรียน ครับเพราะสามารถที่จะอัพโหลด ไฟล์ word excell และPowerpoint ไว้ใน facebook ได้เลย
คลิกอ่านวิธีการทำที่นี่ครับ

  -การติดตั้งเว็บบอร์ดลงในหน้าบล็อคของเรา คลิกดูวิธีการที่นี่ครับ http://www.hackublog.com/2010/03/forum-blogger.html 

 -โปรแกรมที่ใช้สำหรับการทำส่วนหัวบล็อค ใช้โปรแกรม adoby imagestyler 1.0
   คลิกดาวน์โหลด code ที่นี่ เลือกดาวน์โหลดตัวบนนะครับ
  คลิกดาวน์โหลดตัวโปรแกรมที่นี่ http://www.download3000.com/download-link-1/14879.html
  วิธีใช้โปรแกรมคร่าว ๆที่นี่ http://www.learners.in.th/blogs/posts/388271 

-สร้างข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก ติดตั้งใน บล็อค เอานี่เลยอย่างง่ายที่สุด
 http://www.bs.ac.th/quiz_online/

วิธีสร้างคร่าว ๆ

-ใส่จำนวนข้อสอบที่ต้องการ
 -คลิกเลือก "แบบเมนูเลือก"
 -ใส่จำนวนตัวเลือก 4
 -สร้างแบบทดสอบ

-คลิกตรง "แสดงโค๊ดการเขียน"
-คัดลอก code นี่แหละครับ ไปใส่ในบล็อค เราก็ได้ข้อสอบ ที่นักเรียนสามารถเข้าทำบนระบบออนไลน์ได้แล้วครับ

-หากต้องการโปรแกรมสร้างข้อสอบที่เป็นมาตรฐานละก็ ต้องจ่ายตังค์นะครับ ปีละ 500  บาท ใช้ดีมากครับ สนใจก็เข้านี่เลยครับ http://www.exam.in.th ครูรุณย์ใช้อยู่นะครับดีครับ

    ครูรุณย์ขอแนะนำแค่นี้ก่อนนะครับ
                                                          

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

ม. 4/14 ส่งงานที่นี่

ม. 4/13 ส่งงานที่นี่

ม. 4/12 ส่งงานที่นี่

ม. 4/11 ส่งงานที่นี่

ม. 4/10 ส่งงานที่นี่

ม. 4/9 ส่งงานที่นี่

ม. 4/8 ส่งงานที่นี่

ม. 4/7 ส่งงานที่นี่

ม.4/6 ส่งงานที่นี่

การกบฎ ปฏิวัติ และรัฐประหาร


คลิปเหตุการสำคัญทางการเมือง

 ประวัติการเสียดินแดนของไทย

ประชาธิปไตยของไทย

พฤษภาทมิฬ Dark Day May 1992 in Thailand -



สรุปการกบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย


กบฎ ร.ศ.130


กบฎบวรเดช


บันทึกการเมือไทย 2500 ตอน 1  2  3  4  5  


บันทึกการเมืองไทย 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13

บทที่ 7 รัฐธรรมนูญไทย

ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เกิด-ดับ รัฐธรรมนูญไทย 18 ฉบับ

1. ประวัติรัฐธรรมนูญไทย


พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ในวันพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475
"ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
ข้อความข้างต้นปรากฏอยู่บน "หมุดประชาธิปไตย" ที่ถูกตอกไว้ ณ จุดเดียวกับที่ พระยาพหลพลพยุหเสนา หนึ่งในแกนนำของคณะราษฎรอ่านคำประกาศ ต่อหน้าเหล่าทหารที่ถูกเกณฑ์มาเป็นสักขีพยานแห่งการปฏิวัติ เมื่อ 75 ปีก่อน

บทที่ 6 การบริหารราชการแผ่นดินไทย

ดาวน์โหลด Ebook เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คลิกที่นี่

อ่านเรื่องการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย 

เอกสารที่ใช้สอนในห้องเรียน ด้านล่างนี้ครับ




คลิกทำแบบทดสอบที่นี่

บทที่ 5 ตุลาการไทย








 ดาวน์โหลด Ebook เรื่องฝ่ายตุลาการ ที่นี่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับศาลยุติธรรม คลิกอ่านหนังสืออีเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับศาลยุติธรรมได้ที่นี่

เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน คลิกที่นี่


( 




คลิกทำแบบทดสอบที่นี่

บทที่ 4 รัฐบาลไทย


 ***เรื่องคณะรัฐมนตรี ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐธรรมนูญ***
ปัจจุบันใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 คลิกที่นี่

 ดาวน์โหลด Ebook เรื่องคณะรัฐมนตรี ที่นี่
รัฐบาล(powerpoint)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
การพิจารณาบุคคลผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของสภาผู้แทนราษฎร (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)   นำเสนอแบบสั้น ๆ
การรับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
                     สื่อการเรียนการสอนที่ใช้สอนในห้องเรียน เรื่องคณะรัฐมนตรี


คลิกทำแบบทดสอบที่นี่

บทเรียนที่ 3 รัฐสภาไทย และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 


ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2557
* เนื้อหาที่ใช้สอนในชั้นเรียนเรื่องรัฐสภา
*คลิกทำแบบทดสอบเก็บคะแนนเรื่องรัฐสภาไทยได้ที่นี่
*แหล่งเรียนรู้เรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
*คลิกทำแบบทดสอบเก็บคะแนนเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยได้ที่นี่


คลิกศึกษาเรื่องรัฐสภาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 
*ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดาวน์โหลด Ebook เรื่องการบัญญัติกฎหมายได้ที่นี่
คลิปการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภา 
คลิปเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550


คลิปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งงแรก


คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรค เดียวนับถึงวันเลือกตั้ง ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน (การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้เป็นกรณียุบสภาผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง หนึ่งเพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง) 

 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

  1. ผู้มีสัญชาติไทย (ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
  4. ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
    • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
    • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
    • ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
    • วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

 

ที่มาของ ส.ส.

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2554 กำหนดให้มี ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน

   ส.ส. แบบแบ่งเขต

          ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งประเทศออกเป็น 375 เขต เกิดจากการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวน ส.ส. 375 คน เช่น ราษฎรทั้งประเทศ จำนวน 63,878,267 ล้านคน หารด้วย 375 ก็จะได้ค่าเฉลี่ยราษฎร 170,342 คน ต่อ ส.ส. 1 คน หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรมี ส.ส. จำนวนเท่าเทียมกันโดยประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน มีความ เสมอภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐีก็มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตให้ทำเครื่องหมาย x กากบาทเลือกได้เพียงหมายเลขเดียวหรือเบอร์เดียว ดังที่เรียกว่า “เขตเดียว เบอร์เดียว”


   ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน 

          ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือก ตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
           การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย x กากบาท เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว ได้เพียงหมายเลขเดียว หรือเบอร์เดียว นั่นก็หมายถึงผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในสังกัดของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบนั่นเอง ส่วนที่ว่าพรรคใดจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนเท่าใดก็ขึ้นกับว่าพรรคนั้นๆ จะได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด โดยผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องมาจากบัญชีรายชื่อเรียงตามลำดับจนกว่าจะครบ จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับ โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

   วิธีคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้ง

  1. นำจำนวนคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนน ให้แก่พรรคการเมืองทุกพรรคมารวมกัน
  2. ผลลัพธ์ตามข้อ 1 หารด้วยจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน
  3. ผลลัพธ์ตามข้อ 2 ไปหารคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ก็จะได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค
  4. ตามข้อ 3 ถ้ายังไม่ได้ครบ 125 คนให้ดูว่าพรรคการเมืองใดมีเศษเหลือมากที่สุดไล่ไปพรรคการเมืองที่มีเศษรองลงไปเรื่อยๆจนครบ 125 คน
          สมมุติว่ามีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ รวม 8 พรรค มีคะแนนรวมทั้งประเทศ ดังนี้

ที่ พรรคการเมือง ได้คะแนน จำนวน ส.ส. จากการ
คำนวณครั้งแรก
เหลือเศษ จำนวน ส.ส. ที่ได้เพิ่ม
จากการคำนวณ
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ทั้งสิ้น
1
2
3
4
5
6
7
8
พรรค ก.
พรรค ข.
พรรค ค.
พรรค ง.
พรรค จ.
พรรค ฉ.
พรรค ช.
พรรค ซ.
12,600,000
8,450,000
2,900,000
2,800,000
1,550,000
1,550,000
300,000
150,000  
51
34
11
11
6
6
1
-

0.980
0.859
0.963
0.551
0.394
0.394
0.237
0.618
 
1
1
1
1
-
-
-
1
52
35
12
12
6
6
1
1
รวม   120 - 5 125

หมายเหตุ ผลการคำนวณครั้งแรกได้ ส.ส. 120 คน ดังนั้น จำนวน ส.ส. อีก 5 คนที่เหลือ จะมาจาก 5 พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเหลือเศษมากที่สุด พรรคละ 1 คน ไล่เรียงตามลำดับคือ พรรค ก. พรรค ค. พรรค ข. พรรค ซ และ พรรค ง.

         โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
  1. รวมคะแนนทุกพรรค 30,300,000 คะแนน
  2. คะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส. 1 คน คือ คะแนนรวมทุกพรรค หารด้วย 125 กรณีนี้คือ 30,300,000 คะแนน หารด้วย 125 เท่ากับ 242,400 คะแนน
  3. คะแนนรวมของแต่ละพรรคหารด้วยคะแนน เฉลี่ย ผลที่ได้คือจำนวน ส.ส. ของพรรคในเขตนั้นๆ หากคำนวณแล้วได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไม่ครบ 125 คน ให้นำเศษของคะแนนในแต่ละพรรคการเมืองที่ได้มาจัดลำดับจนครบ
          ตัวอย่าง : พรรค ก. ได้คะแนน 12,600,000 คะแนน หารด้วย 242,400 คะแนน ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 51.980 ก็จะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 51 คน เหลือเศษ .980 คะแนน



วิธีการและขั้นตอนการลงคะแนน




เตรียมตัวก่อนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.
  1. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติผลงานคุณงามความดีของผู้สมัครและ พรรคการเมือง
  2. เตรียมตัวให้พร้อม โดยตรวจสอบว่ามีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งของเขต เลือกตั้งไหน ต้องไปใช้สิทธิ ณ ที่เลือกตั้งใด หากลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดไว้ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางนอกเขตจังหวัดของจังหวัดที่ตนลงทะเบียน ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554 เท่านั้น (ผู้นี้ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ได้)
  3. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนเอาไว้ให้พร้อม
  4. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตที่หน่วยเลือกตั้ง ที่ท่านมีชื่ออยู่ ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น. ในวันเลือกตั้ง (3 กรกฏาคม 2554)
หลักฐานใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุก็ใช้ได้
  2. บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย และมีหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้ถือบัตร เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)   
ก่อนตัดสินใจกากบาท x ลงคะแนน จะพิจารณาอย่างไร?
ส.ส.แบบแบ่งเขต เลือกคนที่รัก คนเดียวในดวงใจ

ควรมีลักษณะ เช่น
  1. เป็นคนดี มีความสามารถ มีประวัติส่วนตัว และผลงานที่ผ่านมาดีเป็นที่ยอมรับ กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม
  2. มีคุณธรรม และความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
  3. มีความรู้ความสามารถ คือรู้ปัญหา รู้หน้าที่ และมีแนวคิด หรือข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้
  4. มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย คือ มีเหตุผล ไม่ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เคารพมติเสียงส่วนใหญ่ รับฟังความเห็นของเสียงส่วนน้อย
  5. มีการหาเสียงหรือแนะนำตัวอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยง กฎกติกาการเลือกตั้ง
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคที่ชอบ พรรคเดียวที่เราวางใจ”
พรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น
  1. มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้ เป็นจริงได้
  2. ระบบบริหารของพรรคยึดหลักการประชาธิปไตย
  3. มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
  4. ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
  5. เป็นพรรคที่รวมคนทุกกลุ่มในสังคมเป็นสมาชิกไม่ใช่ยึดติดเพียงกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง

การกระทำผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ความผิดเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
การให้ หรือสัญญาว่าจะให้ เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการเลี้ยง หรือรับจะจัดเลี้ยง หรือหลอกลวง หรือใช้อิทธิพลคุกคาม หรือใส่ร้าย เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง หรือไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี 
การจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปหรือกลับจากที่เลือกตั้ง เพื่อการเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี 
การให้คนที่ไม่มีสัญชาติไทยช่วยเหลือในการหาเสียง

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท
การหาเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง

เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ห้าม ปิดประกาศ หรือติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งติดในสถานที่ของเอกชน และห้ามหาเสียงโดยการติดแผ่นป้ายแนะนำตัวผู้สมัครเกินขนาดและมีจำนวนไม่เป็น ไปตามที่  คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด หรือการหาเสียงตามสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์นอกเหนือจาก   ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้

เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
การเรียก หรือรับทรัพย์สินในการลงสมัครหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี หรือปรับ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี 
เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และถูกปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
ความผิดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส.
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคใช้จ่ายในการเลือกตั้งเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000  บาท หรือ ปรับเป็น 3 เท่าของจำนวนเงินเกินกำหนด หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
ผู้ สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคไม่ยื่นบัญชีการใช้จ่ายในการเลือกตั้งภายใน 90 วันหลังจากวันเลือกตั้ง หรือยื่นหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน 

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้งเป็นเท็จ 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี และปรับ 20,000 - 100,000  บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ

เป็นความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี และห้ามเป็นสมุห์บัญชีเลือกตั้ง 5 ปี 
ความผิดเกี่ยวกับผู้สมัครและการสมัครรับเลือกตั้ง
การ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต หรือแบบบัญชีรายชื่อ โดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่สิทธิลงสมัคร หรือการลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค หรือลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชี รายชื่อ หรือลงสมัครรับเลือกตั้งเกินกว่า 1 เขตเลือกตั้ง หรือการสมัครลงรับเลือกตั้งมากกว่า 1 เขตเลือกตั้ง

เป็นความผิด มีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000  บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
ความผิดเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ
การย้ายชื่อบุคคลอื่นเข้ามาในทะเบียนบ้านเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้ง
การลงคะแนนเลือกตั้งโดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง โดยใช้เอกสารแสดงตน อันเป็นเท็จ 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000  บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี (
การขัดขวาง ไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ หน่วยเลือกตั้ง หรือลงคะแนนเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
การ ถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งไว้แล้ว หรือการแสดงบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งไว้แล้วให้ผู้อื่นทราบถึง การลงคะแนนเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ มีสิทธิเลือกตั้งเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองใด 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
ความผิดเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง
การ นำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง หรือการทำเครื่องหมายเป็นที่สังเกตไว้ในบัตรเลือกตั้ง หรือการนำบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย หรือการทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิดไปจากความเป็นจริง หรือกระทำการให้บัตรเลือกตั้งเพิ่มขึ้นไปจากความเป็นจริง

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
การ ใช้บัตรอื่นที่มิใช่บัตรเลือกตั้งที่กฎหมายกำหนดหรือการใช้บัตรเลือกตั้งที่ มิใช่บัตรเลือกตั้งที่ตนได้รับมา  จากการแสดงตน   เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
ความผิดเกี่ยวกับการร้องเท็จและเป็นพยานเท็จ
กระทำการอันเป็นเท็จให้ผู้อื่นเข้าใจว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
กระทำ การอันเป็นเท็จเพื่อกลั่นแกล้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือไม่ให้มีการประกาศผลเลือกตั้ง

เป็นความผิดมีโทษจำคุก  5 -10 ปี และปรับ 100,000 - 200,000  บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
การกล่าวหาผู้สมัครรับเลือกตั้งว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันเป็นเท็จ

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 7 - 10 ปี และปรับ 140,000 - 200,000  บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
ความผิดเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.
การ ขัดขวางคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มอบอำนาจไม่ให้เข้าไปในที่อยู่อาศัย สถานที่ หรือยานพาหนะ เพื่อตรวจ ค้น ยึด หรืออายัดทั้งเอกสารทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานอื่นๆ เมื่อมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน  จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
การเล่น หรือจัดให้เล่นพนันขันต่อเกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือถูกปรับ 20,000 - 100,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
การ เปิดเผย หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการลงคะแนนการเลือกตั้งใน ระหว่าง 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนการเลือกตั้ง 

เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือถูกปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำความผิด เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้น ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร  
ผู้สมัครรับ เลือกตั้ง หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่  ต้องรับผิดและชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเลือกตั้งใหม่ 

การเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ

            กรณีชื่อตนเองหายไปหรือมีชื่อบุคคลอื่นเกินมาในบัญชีรายชื่อ ให้แจ้ง เพิ่มชื่อ-ถอนชื่อต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันเลือก ตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน

 

เกร็ดเลือกตั้ง ส.ส.

ใครเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง กกต.มี 5 คน กกต.จว. ในแต่ละจังหวัดอีก จังหวัดละ 5 คน เป็นผู้ช่วยเหลือ
  • แต่พนักงาน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งส่วนกลางและจังหวัด มีประมาณ 2,200 คน รวมทั้งมี กกต.เขต ทุกเขตเลือกตั้งๆละ 5 คน เป็นผู้รับผิดชอบจัดการเลือกตั้งตามกฎหมาย /อนุกรรมการระดับอำเภอ/กรรมการประจำหน่วย (กปน.)ฯลฯ อีกประมาณ 1,200,000 คน ช่วยเหลือในการจัดการเลือกตั้ง
  • หน่วยเลือกตั้ง ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยละ 800 คน จำนวนประมาณ 94,000 หน่วย
               ในแต่ละหน่วยเลือกตั้งจะมีผู้อำนวยการประจำหน่วย 1 คนและ กปน. จำนวน 9 คน มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีก 2 คน รวมทั้งมีอาสาสมัครของ องค์กรเอกชน (ออช.) และตัวแทนพรรคการเมืองไม่เกินพรรคละ 1 คน เป็นสักขีพยาน
               นอกจากนี้ ยังต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสนับสนุนการเลือกตั้ง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด และการขอความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และภาคประชาชน

การนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.
          เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนในเวลา 15.00 น. แล้ว จะนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้ง โดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียวแล้ว กปน. จะประกาศผลการนับคะแนน ส.ส. ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปิดประกาศไว้บริเวณที่เลือกตั้ง จากนั้นจะนำหีบบัตรพร้อมอุปกรณ์และเอกสารสำคัญส่งอำเภอ เพื่อรายงานผลให้ กกต.เขต
          หลังจากนั้น กกต.เขต จะรวบรวมผลการนับคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้ง และประกาศผลรวมคะแนนของเขตเลือกตั้งและปิดประกาศไว้ในสถานที่ ที่กำหนด พร้อมรายงานต่อ กกต.ประจำจังหวัด และรายงานต่อ กกต. เพื่อพิจารณาประกาศผลการเลือกตั้งต่อไป

ข้อห้ามกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
  • ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมการซื้อเสียง
  • ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง
  • ห้ามหาเสียงและห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อน วันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
  • ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
  • ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนียวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
  • ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
  • ห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง หรือทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
  • ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด
  • ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
  • ห้ามเผย แพร่หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผล การเลือกตั้ง(โพลล์) ในระหว่าง 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง (เวลา 15.00 น.)
การคัดค้านการเลือกตั้ง
          ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งยื่นคัดค้านต่อ กกต. โดย
  • ก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผล การเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง กรณีเห็นว่าผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเกินจำนวนที่ กกต. กำหนด หรือผู้สมัครไม่ยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายภายใน 90 วัน หลังเลือกตั้ง
ใบเหลือง ใบแดง คืออะไร?
          เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงขอเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล เมื่อกรรมการให้ “ใบเหลือง”นักฟุตบอล แปลว่านักฟุตบอลคนนั้นเล่นผิดกติกา แต่ยังไม่ถึงกับไล่ออกจากสนาม ยังให้เล่นต่อไปได้
          ถ้าให้ “ใบแดง” แปลว่า นักฟุตบอลคนนั้นทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง ต้องไล่ออก จากสนาม กฎหมายเลือกตั้งทุกประเภทก็กำหนดกติกาการเลือกตั้งไว้คล้ายๆ กับกติกากีฬาฟุตบอล ดังนี้
  1. การให้ใบเหลือง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด หมายความว่า กกต. เห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น การซื้อสิทธิ-ขายเสียง การแจกเงิน สิ่งของ เป็นต้น แต่เป็นการทุจริตที่แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครได้เป็นคน กระทำด้วยตนเอง แต่ก็เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตนั้น กกต. จึงลงโทษด้วยการสั่งให้เลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครที่ได้ใบเหลืองยังคงเป็น ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไปได้
  2. การให้ใบแดง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หมายความว่า กกต. เห็นว่ามีหลักฐาน อันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีการให้ใบ เหลือง แต่ต่างกันตรงที่ว่าผู้สมัครเป็นผู้กระทำหรือมีส่วนรู้เห็นการทุจริตนั้น จึงมีผลต้องถูก เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี และหากผู้นั้นได้รับคะแนนเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่ จะได้รับการเลือกตั้ง ก็จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทน โดยผู้ถูกเพิกถอนสิทธินั้น จะไม่มีสิทธิลงสมัคร ทั้งยังถูกดำเนินคดีอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้งใหม่ด้วย
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเหตุทุจริต
          เมื่อพบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินสิ่งของ หรือการเรียกรับเงิน หรือทรัพย์สิน ให้ช่วยกันแจ้งเบาะแสหรือรวบรวมหลักฐานการทุจริตแจ้งต่อตำรวจ ในพื้นที่หรือแจ้งให้ กกต. ได้รับทราบในหลายช่องทาง เช่น
  • สายด่วนเลือกตั้ง โทร. 1171
  • ศูนย์ปฏิบัติการข่าว ฯ ในความรับผิดชอบศูนย์อำนวยการสืบสวนสอบสวน การเลือกตั้ง ส.ส. (ศอส.) โทร. 0-2141-8049-51
  • สำนักงานคณะกรรมการการการเลือกตั้ง อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทร.0-2141-8888
  • หรือที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัด
พันธะสัญญาของพรรคการเมืองว่าด้วยความร่วมมือในการเลือกตั้ง ส.ส. 2554
(หัวหน้าพรรคการเมือง ได้ร่วมลงนาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 )
ข้อ 1. มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงใน การเลือกตั้ง
ข้อ 2. จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ อันเกี่ยวกับ การเลือกตั้งอย่างเคร่งครัด
ข้อ 3. จะไม่ใช้กลไกของรัฐ หรือทรัพยากรของรัฐ มาเป็นประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 4. จะหาเสียงเลือกตั้งโดยสันติวิธี ไม่ข่มขู่ คุกคาม คู่แข่งขันด้วยวิธีการใดๆ และไม่ใช้วิธีการรุนแรงในการหาเสียงเลือกตั้ง
ข้อ 5. จะยอมรับผลการเลือกตั้งตามที่ประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งอย่างจริงใจ

บทเรียนที่ 2 ประวัติการปกครองของไทย

   ***หากเกิดขัดข้องเกี่ยวตัวอักษร  ให้นักเรียนแก้ไขดังนี้ คลิกที่เมนูมุมมอง คลิกที่รหัสอักขระ คลิกเลือก ไทย (TIS-620)
                             2.1 การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

 

บทเรียนที่ 1 คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการปกครอง

ทำแบบทดสอบ คลิกที่นี่

ภัยจากการใช้ Social Network



ในช่วง 1-2 ปีนี้ การเติบโตของการใช้งาน Social Network ในเมืองไทย อยู่ในอัตราที่สูงมาก จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) ที่เพิ่มสูงขึ้น ยอดขายของสมาร์ทโฟนเติบโตในระดับก้าวกระโดด บนความอิ่มตัวของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่มียอดผู้ใช้มือถือมากกว่าจำนวนประชากร

ความนิยมของสมาร์ทโฟน กลายเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และผู้คนถูกเชื่อมโยงเข้าหากันผ่าน Social Network เกิดพฤติกรรมการแชร์ การแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสารมากมาย

ผู้คนเริ่มแสดงออกมากขึ้น นำชีวิตส่วนตัวมาเปิดเผยมากขึ้น ผู้ใช้ก็อยากรู้เรื่องราวและชีวิตส่วนตัวของคนอื่นมากขึ้น ทุกคนก็อยากให้คนอื่นมาสนใจเรื่องของตัวเอง เครื่องมืออย่างเช่น การคอมเมนต์ การแชร์รูป การโพสต์สถานะว่าทำอะไร คิดอะไร หรืออยู่ที่ไหน การกด Like ล้วนแต่ตอบโจทย์พฤติกรรมของการแสดงออกของผู้ใช้ Social Network ทั้งสิ้น

เมื่อมีการเปิดเผยเรื่องของตัวเองมากขึ้น เริ่มมีเพื่อน คนรู้จักมาให้ความสนใจมากขึ้น กลายเป็นพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เปิดเผยเรื่องของตัวเองที่เคยเป็นเรื่องส่วน ตัวมากยิ่งขึ้น จนหลายครั้ง ผู้ใช้เริ่มแยกแยะไม่ออก เรื่องใดควรเปิดเผยหรือไม่ควรเปิดเผย ควรเปิดเผยกับใครและไม่ควรเปิดเผยกับใคร


คนส่วนใหญ่เริ่มขาดความระมัดระวังในเรื่องของการแชร์เรื่องของตัวเอง ขาดความตระหนักถึงภัยอันตรายที่เกิดจากความรู้ไม่เท่าทัน บทความนี้ผมจึงตั้งใจเขียนเพื่อเตือนให้ผู้ใช้ มีความตระหนักมากยิ่งขึ้น

เมื่อช่วงต้นปี 2010 มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook.com ได้ประกาศต่อสาธารณะว่า "โลกของความเป็นส่วนตัวได้หมดไปแล้ว" (The Age of Privacy is Over) โดยผู้ที่สมัครใช้งาน Facebook ทุกคนนับจากวันนั้น จะถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว (User Information) ต่อสาธารณะ เป็นค่าเริ่มต้น โดยที่ Facebook มีเครื่องมือที่ช่วยกำหนดระดับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้เป็นทางเลือก

ดังนั้น ถ้าเราสมัคร Facebook โดยไม่เข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเอง ข้อมูลส่วนตัวของเรา ใครๆ ก็เข้าไปดูได้ครับ

ล่าสุด มีผู้ค้นพบว่ามือถือ iPhone ได้แอบเก็บข้อมูลของสถานที่ต่างๆ ที่ผู้ใช้งานเดินทางไป จนรู้ได้ว่าในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา ผู้ใช้เดินทางไปไหน ช่วงเวลาใดบ้าง แม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่า ข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในเครื่อง ไม่ได้ถูกส่งออกไปไหน แต่นั่นก็ทำให้ผู้ใช้ควรเริ่มตระหนักว่า ความเป็นส่วนตัวของเรา เริ่มมีน้อยลงไปทุกที