หน่วยที่ 1
- หน้าแรก
- หน่วยที่ 1 ศัพท์ควรรู้
- หน่วยที่ 2 ประวัติการปกครองของไทย
- หน่วยที่ 3 รัฐสภาไทย
- หน่วยที่ 4 รัฐบาลไทย
- หน่วยที่ 5 ตุลาการ
- หน่วยที่ 6 การบริหารราชการแผ่นดิน
- หน่วยที่ 7
- กบฎ ปฏิวัติ รัฐประหาร
- คลิปเหตุการณ์สำคัญ
- ภัยของ social network
- นักเรียนส่งงาน
- แวดวงการศึกษา
- บริการ
- เว็บบอร์ด
- แนะนำการสร้าง บล็อค
- คลิปเกี่ยวกับรัฐสภาไทย
- krutube
- krukaroontube
- คลิปเข้าทำแบบทดสอบ
- ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียน
- คู่มือในการสร้าง Site หรือสร้าง Blog
- ความรู้เรื่องเขาพระวิหาร
- สมุดเยี่ยม
- ชุมนุม Social Media
- ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาล “แนวร่วมแห่งชาติ” 13 พรรค ที่นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ ( อัมโน ) ของนาจิบ สามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 133 ที่นั่ง จาก 222 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแนวร่วม “ปากาตัน รัคยัต” หรือพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยพรรคความยุติธรรมปวงชน ( พีเคอาร์ ) ของอันวาร์ ได้ไป 89 ที่นั่ง โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากถึง 10 ล้านคน จากทั้งหมด 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทว่านาจิบถือเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2500 ที่ได้รับคะแนนนิยมประชาชนน้อยกว่าผู้สมัครจากพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน คือ 5.22 ต่อ 5.48 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม ผู้นำมาเลเซียวัย 59 ปี ประกาศชัยชนะและขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมา ที่เป็นการตัดสินใจโดยบริสุทธิ์ของประชาชน เพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ในอนาคต
ขณะที่อันวาร์ วัย 65 ปี ปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมกับประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเต็มไปด้วยการทุจริต ดังนั้น ผลคะแนนที่ออกมาจึงไม่มีความโปร่งใส่พอ แม้ปากาตัน รัคยัต จะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 5 ปีก่อนถึง 14 ที่นั่งก็ตาม แต่ก็ต้องสูญเสียที่นั่ง 1 ใน 4 รัฐที่เคยแย่งชิงมาจากฝ่ายรัฐบาล กลับคืนไปให้นาจิบในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 13 รัฐ
ด้านนายเจมส์ ชิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในสิงคโปร์ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซียครั้งนี้ว่า เป็นการต่อสู้กันอย่างสูสีที่สุด เนื่องจากนอกเหนือจากแรงกดดันภายนอกแล้ว ทั้งนาจิบและอันวาร์ต่างต้องเผชิญแรงเสียดทานภายในพรรคไม่แพ้กัน โดยนาจิบต้องการแย่งชิงที่นั่งที่เสียไปเมื่อปี 2551 กลับคืนมาให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นจากสมาชิกพรรค ซึ่งแม้จะทำไม่ได้ แต่อย่างน้อยพรรครัฐบาลก็ยังคงครองเสียงข้างมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)